ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อาหารก่อนการออกกำลังกาย

อาหารก่อนการออกกำลังกาย
บ่อย ครั้งที่จะเห็นผู้ที่กำลังจะเริ่มออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ แวะรับประทานอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาหารว่าง บางรายอาจเป็นอาหารหนักก็เคยพบเห็นได้ หลายท่านคงจะสงสัยว่า การรับประทานอาหารก่อนการออกกำลังกายนั้น มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และมีข้อพิจารณาอย่างไร


เรื่องการรับประทานอาหารสำหรับการออกกำลังกายนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้ารับประทานอาหารไม่พอ ก็อาจจะไม่มีแรงในการออกกำลังกาย หรือหากรับประทานอาหารมากเกินไป อาจจะรู้สึกไม่สบายท้อง หรือออกกำลังกายไม่ไหว นักกีฬาควรได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต 200-300 กรัม ในช่วงเวลา 3-4 ชั่วโมง ก่อนการออกกำลังกาย

โดยปกติขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะมีเกิดการขยายตัวของปอด ทำให้กระบังลมที่อยู่เหนือกระเพาะอาหารต้อง เคลื่อนไหวขึ้นลงตามการขยายตัวของปอดอยู่ตลอดเวลา ตราบเท่าที่กำลังออกกำลังกายอยู่ ดังนั้น หากเรารับประทานอาหารก่อนออกกำลังกายในปริมาณมาก จะมีผลให้กระเพาะอาหารใหญ่ขึ้น และการเคลื่อนไหวของกระบังลมจะลดน้อยลง เลือดมาเลี้ยงกระเพาะอาหารมากขึ้น เพื่อช่วยในการย่อย และดูดซึมอาหาร ในขณะเดียวกันเลือดจะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่มีส่วนในการออกกำลังกายน้อยลง และหากเป็นกีฬาที่มีการกระทบกระแทกกันรุนแรง อาจทำให้กระเพาะอาหารแตกได้

ดังนั้น ควรงดอาหารหนักก่อนการออกกำลังกาย และมื้อสุดท้ายควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และรับประทานอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย สำหรับกีฬาที่ต้องเล่นเป็นเวลานานๆ เช่น การขี่จักรยานทางไกล ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก อาจจำเป็นต้องได้รับอาหารที่ย่อยง่าย และมีปริมาณไม่ถึงกับอิ่มเป็นระยะๆ อาหารที่เหมาะสมที่สุด คือ อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ซึ่งอยู่ในสภาพที่เป็นของเหลว และมีกากใยน้อย

หลังออกกำลังกายร่างกายต้องการการฟื้นตัว ต้องการพลังงานเพื่อให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ น้ำและเกลือแร่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การออกกำลังกายทำให้ไกลโคเจนที่สะสมไว้ที่ตับ และกล้ามเนื้อถูกใช้ไป จึงต้องมีการสะสมเพิ่มเติม ซึ่งสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนช่วยเพิ่มการสะสมไกลโคเจนได้เพื่อทดแทนปริมาณที่ถูกใช้ไป

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการได้แนะนำว่า หลังการออกกำลังกายประมาณ 15-30 นาที ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตอย่างน้อย 50 กรัม และโปรตีนอีก 15-20 กรัม เพื่อทำให้สะสมไกลโคเจนได้เร็วขึ้น และร่างกายสามารถนำไปใช้ซ่อมแซมกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น


    ตัวอย่างอาหารสำหรับก่อนการออกกำลังกาย ได้แก่ กล้วย 1/2 ผล, ขนมปังโฮลวีต 2 แผ่น, แอปเปิ้ล 1 ผล, แครกเกอร์ชิ้นเล็ก 10-15 ชิ้น

    ตัวอย่างอาหารระหว่างการออกกำลังกาย ได้แก่ น้ำเกลือแร่ 1 แก้ว, ลูกเกด 1/2 ถ้วย, ขนมปังกรอบ 5 แผ่น, น้ำหวาน 1 แก้ว, น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ

    ตัวอย่างหลังออกกำลังกาย ได้แก่ นมรสช็อกโกแลตไขมันต่ำ 1 ถ้วย, ขนมปังโฮลวีต 1 แผ่น ทาเนยถั่ว 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำส้มคั้น 1 ถ้วย, องุ่น 1 ถ้วย, สับปะรด 1 ถ้วย

https://www.myfirstbrain.com/Knowledge_View.aspx?Id=30348&Browsesub2s=1740


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thanks for visiting!  
http://www.parent-youth.net
http://ilaw.or.th
http://ww2.oja.go.th/home
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.projectlib.in.th
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.nstda.or.th/th
http://www.arda.or.th
http://www.nppdo.go.th
http://www.tlcthai.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.oknation.net/blog/assistance
http://weblogcamp2009.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น