ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

“การแต่งกาย” เสริมพลังชีวิตตัวตนได้..จริงหรือ ?

"การแต่งกาย" เสริมพลังชีวิตตัวตนได้..จริงหรือ ?
โดย แดงส์ ตักสิลา 3 สิงหาคม 2552 14:10 น.
       fashionhora@gmail.com
       
       มีคนสงสัยว่าทำไมเขียนแต่เรื่อง "พลังตัวตน" ก็เลยอยากจะเก็บตกสาระที่เคยเขียนบ้างแล้ว มาเรียบเรียง และทบทวน ให้ผู้อ่านทั้งใหม่และเก่านำไปปรับทัศนคติ และโลกทัศน์กันอีกสักครั้ง
       


       ทุกคนมี "พลังตัวตน" ที่สะท้อนมาเป็น "ภาพรวมของภาพลักษณ์หลากอารมณ์"
       
       ขอนิยามคำสองคำนี้ ในแนวของ Taxila's Fashion HORA กันหน่อย
       

       "ภาพลักษณ์" และ "ภาพพจน์" ใช้ภาษาอังกฤษคำเดียวกันว่า Image ซึ่งบอกว่าเป็นภาพสะท้อนทีอยู่ในใจแต่ละคน แต่ถ้าถอดนิยามเป็นภาษาไทย โดยเอาคำสองคำนั้นมาเป็นผลลัพธ์
       

       "ภาพลักษณ์" คือ ภาพรวมของตัวตน แต่คนคน จากการปรากฏกายด้วยเครื่องแต่งกาย ผสมผสานกับท่าทาง ท่าที การพูดจา กิริยามารยาท การอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่นว่า มีลักษณะใด "ดูดี เหมาะสม ลงตัว" หรือ "ดูดี แต่ไม่เหมาะสม และไม่ลงตัว" หรือ "ดูไม่ดี รวมทั้งไม่เหมาะสม และไม่ลงตัว" เป็นภาพรวมที่เราถูกสัมผัสโดยผู้อื่น ในสภาวะแวดล้อม หรือภารกิจในสังคมต่างๆ (ซึ่งผมเชื่อว่าทุกสัมผัสแน่นอน)
       
       "ภาพพจน์" คือ นิยาม คำพูด ข้อความ ที่สรุปภาพรวมของภาพลักษณ์การแต่งกายแต่ละคน ที่สรุปจากคำชม คำติ คำวิจารณ์ เป็นคำพูดจากปาก และปากต่อปาก (Words of Mouth) ซึ่งไม่ว่าดี หรือไม่ดี เป็นคำพูด ที่สรุปจากภาพลักษณ์ที่ถูกเห็น และกลายเป็น "ภาพพจน์" คือ ภาพจากคำพูด
       
       "ถ้าพลังตัวตนภาพลักษณ์ ดูดี เหมาะสม ลงตัว กับตัวตนที่ใช่เรา" ก็จะสร้าง "พลังตัวตนภาพพจน์ ด้วยนิยามสรุปว่า ดูดี เหมาะสม ลงตัว กับตัวตนที่ใช่เรา"
       
       ไม่งงนะครับ
       
       อาจไม่เชื่อ หรือไม่เคยคิด หรือไม่เข้าใจก็ได้ว่า "ตัวตนเรา มีพลังตัวตน ที่มีผลทางอารมณ์กับผู้อื่น" เป็นพลังตัวตนภาพลักษณ์ (HEP Image Powers) ที่อยากจะยกตัวอย่างให้พิจารณา
       
       หลายองค์กรปัจจุบันนอกจากจะมุ่งทำ CSR (Corporate Social Responsibility) แล้วยังมีการคัดเลือก ประกวด สาวสวยให้มาเป็น Presenter โดยเรียกนิยามจำเพาะต่างๆ ประกวดคัดเลือก และนำมาแต่งกายดูดี สวยน่ารัก น่าเชื่อถือ นำเสนอเป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เป็นโปสเตอร์ เป็นใบปิด เป็นแผ่นพับ ติดโชว์ วางโชว์ ในสถานที่บริการทุกสาขา ดูแล้วน่าสนใจมาก ด้วยภาพรวมที่มี "พลังตัวตนภาพลักษณ์แบรนด์องค์กร หรือแบรนด์ผลิตภัณฑ์" นั้นๆ มากทีเดียว
       
       แต่..บุคลากรทั้งพนักงานบริการ ฝ่ายธุรกรรม ทั้งที่อยู่ในสถานที่บริการ สำนักงาน หรือเดินตามถนนหนทางที่สาธารณะ ส่วนใหญ่กลับมี "ภาพรวมสื่อพลังตัวตนภาพลักษณ์ส่วนตัว มากกว่าพลังตัวตน ภาพลักษณ์แบรนด์องค์กร หรือผลิตภัณฑ์นั้น" แม้จะมีสีสัน รูปแบบเครื่องแบบ ที่สื่อความเป็นเอกภาพก็ตาม

       ถ้าเราพิจาณารายละเอียดด้วย 4+1 องค์ประกอบเครื่องแต่งกาย คือ ทรงผม-แต่งหน้า เสื้อผ้า รองเท้า-กระเป๋าถือ เครื่องประดับ-กลิ่นกาย สุขภาพอนามัย แบบหาเรื่องพิจารณา เราจะเป็นความไม่สมดุล ความไม่สัมพันธ์ อันเกิดจากการเลือกแต่งตามรสนิยมส่วนตัว ค่านิยมกลุ่ม ที่สร้า่งพลังตัวตนภาพลักษณ์ส่วนตัว หรือเฉพาะกลุ่ม มากกว่าแบรนด์องค์กร
       
       อีกสักตัวอย่างหนึ่ง คือ ตอนนี้นิยมมี Brand Ambassador ตามค่านิยมสากล
       
       ช่างผมคนดังได้รับการคัดเลือกให้เป็น Brand Ambassador ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม หรือความงาม เพราะเป็นคนดัง เป็นที่นิยม และแบรนด์นั้นเชื่อว่า จะมีส่วนเสริมพลังตัวตนภาพลักษณ์แบรนด์ผลิตภัณฑ์นั้น ด้วยอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง และสัมพันธ์กัน ก็น่าจะพอไปด้วยกันได้
       
       แต่มีแบรนด์องค์กร แบรนด์ผลิตภัณฑ์มากราย คัดเลือกดาราดัง ศิลปินซุปเปอร์สตาร์ มาเป็น Brand Ambassador ทั้งที่อาจไม่เคยใช้บริการหรือใช้ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์นั้นๆ มาก่อน ทั้งนี้แบรนด์องค์กรหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความเชื่อว่า "พลังตัวตนภาพลักษณ์ของผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จะเสริมพลังตัวตนภาพลักษณ์แบรนด์องค์กรหรือผลิตภัณฑ์ ให้ดูดี มีพลังแตกต่างจากแบรนด์คู่แข่งได้"
       
       ทั้งสองตัวอย่าง "พลังตัวตน" ที่มีผลบวกผลลบกับ "พลังตัวตนภาพลักษณ์แบรนด์องค์กรหรือผลิตภัณฑ์" อย่างไรหรือไม่ ลองช่วยกันพิจารณาด้วยคำว่า "พลังตัวตนภาพลักษณ์ (HEP Image Powers)"
       
       ผู้คนในสังคมปัจจุบันให้ความสนใจในการแต่งกายให้ตัวเองดูดี เท่าเทียม เท่าทัน กับกระแสแนวนิยมแฟชั่น หรือกลุ่มสังคมที่อยากเข้าไปมีส่วนร่วมกันมาก การนำเสนอรูปแบบ รูปลักษณ์สไตล์การแต่งกาย ไลฟ์สไตล์ผ่านสื่อ กิจกรรมการแสดง ที่เน้นความหวือหวา แหวกแปลกประหลาด เพื่อผลทางการนำเสนอข่าวของสื่อทุกประเภท ทำให้เกิดกลุ่ม Informed Consumer ที่มีความรู้ไม่ชัด ไม่ลึก ไม่มีราก ทำให้การแสดงออก การแต่งกายที่มั่นใจว่า "ใช่" เกิด "พลังตัวตนภาพลักษณ์" ที่ดูดี แต่ไม่เหมาะสมกันแำพร่หลายมากยิ่งขึ้น การเลือกแต่งกายที่ควรทำความเข้าใจในผลลัพธ์ของภาพรวมภาพลักษณ์การแต่งกาย ที่ควรจะให้ "ดูดี เหมาะสม ลงตัว กับพลังตัวตนใด"
       
       แล้วผมจะนำเอา "พลังตัวตนภาพลักษณ์ ตามวันเดือนปีเกิด" มาเล่าให้ฟังในครั้งหน้า เพื่อให้ผู้อ่านได้ลองพิสูจน์ว่า "คุณมีพลังตัวตนภาพลักษณ์ตามพลังวันเดือนปีเกิด" ตรงกับ "ภาพรวมพลังตัวตนภาพลักษณ์ปัจจุบันไหม" อย่าลืมมาอ่านกันนะครับ
http://www.manager.co.th/lady/viewnews.aspx?NewsID=9520000087649

--
      Weblink
http://ilaw.or.th
www.patani-conference.net
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.bedo.or.th/default.aspx
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://seminarmon.blogspot.com
http://seminartue.blogspot.com
http://seminarwed.blogspot.com
http://seminarthu.blogspot.com
http://seminarfri.blogspot.com
http://seminar1951.blogspot.com
http://seminardd.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น