ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 107 วันที่ 13 สิงหาคม 2552)



ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
 
 
 
 
 
 



 



Subject: ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 107 วันที่ 13 สิงหาคม 2552)
From: biodata@trf.or.th
Date: Thu, 13 Aug 2009 16:00:37 +0700



สาร biodata ฉบับที่ 107
การวิจัยและงานวิจัย (2)

เรียนสมาชิก biodata ทุกท่าน

                วันนี้ขอต่อเรื่อง "การวิจัย" และ "งานวิจัย" ต่อจากที่ค้างไว้ในฉบับ 106 โดยจะเอาความจริงอีก 2 อย่างมาขยายความ (แม้ว่าบางความจริงจะค่อนข้างเจ็บปวดบ้าง)

ความจริงที่ 4 ความจริงส่วนบุคคลของอาจารย์มหาวิทยาลัย  

บุคคลกลุ่มนี้ส่วนมากผ่านระบบการศึกษาแบบ fast track  หมายความว่าศึกษาเส้นทางด่วนเพราะมีโอกาสทางการศึกษาเหนือผู้อื่นชีวิต ตั้งแต่จำความได้ล้วนอยู่ในระบบการศึกษาและการวิจัย(เพื่อจบการศึกษา)   ทันทีที่จบการศึกษาระดับสูงก็เข้าสู่ระบบอุดมศึกษาเพื่อใช้การศึกษาสร้างคน (ออกไปเป็นกำลังการผลิตในระบบเศรษฐกิจ)  และใช้วิจัยเพื่อสร้างความก้าวหน้าในอาชีพของตน   ซึ่งในที่สุดแล้วยิ่งตอกย้ำความจริงข้อที่ 3  (ที่เสนอไว้ในฉบับที่แล้ว) จนผู้ประกอบการ "ขาดศรัทธา" ต่องานวิจัย  

อาจารย์มหาวิทยาลัยมีศักยภาพสูงมากหากเราสามารถทำให้ "รู้ร้อนรู้หนาว" ต่อความเป็นจริงของการขาดความรู้ในระบบสร้างเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ แต่การศึกษาแบบfast track ทำให้ขาดประสบการณ์จริง  เขาจึงไม่กล้าพอ   ดังนั้น  แหล่งทุนวิจัยต้องใช้ทรัพยากร (ทุนวิจัย) ให้เกิดเป็น "สะพาน" ทอดให้ผู้ประกอบการและอาจารย์มหาวิทยาลัยไปมาหาสู่เพื่อรู้จัก "จริต" ของกันและกัน   จะได้ปรับมโนทัศน์ให้กว้างเพื่อเข้าใจบริบทผู้อื่น  

ความเข้าใจผิดจนเกิดความจริง (ที่ไม่ควรจริง) 2-3 ข้อที่กล่าวมาแล้วนั้น คือ "มายาคติ" ที่ขังความคิดของคนในวงการวิจัย โครงการของ สกว. ที่เกี่ยวกับการศึกษาและการพัฒนาจึงเป็นกุญแจไขให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายหลุดพ้นจากกรงขังของมายาคติ  และเป็นสะพานทอดข้ามอาณาเขตหวงห้าม  ให้ภาคการศึกษา ภาคเศรษฐกิจ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการไปมาหาสู่กัน  เพื่อให้การเรียนรู้จาก "กระบวนการวิจัย" ขยายกว้างออก   แล้วจึงจะนำไปสู่ความจริงข้อที่ 5

 ความจริงที่ 5  ความจริงของคำขวัญ สกว.  "สร้างสรรค์ปัญญา  พัฒนาประเทศ"

สองวลีในคำขวัญนี้มีพันธะต่อกัน สกว. ไม่ต้องการ "สร้างสรรค์ปัญญา" เฉยๆ อย่างไม่มีพันธะ   เพราะเจตนาสูงสุดคือการ "พัฒนาประเทศ" เมื่อมีการพัฒนาประเทศเป็นเป้าหมายใหญ่  เราจึงต้องพัฒนาคนทุกกลุ่มไปพร้อมๆกัน ต้องทำให้การสร้างสรรค์ปัญญาเกิดกับคนหมู่มาก (ไม่เว้นแม้แต่ชาวบ้านที่หลายคนมักจะคิดว่าล้าหลังเกินกว่าที่จะเกิดการพัฒนาจาก "กระบวนการทำวิจัยด้วยตนเอง" ได้)   นักศึกษาปริญญาตรีเขาก็เป็นกำลังพัฒนาประเทศ (ตัวจริง)  นายก อบต. ก็ใช่   ครูที่เป็นตัวจักรสำคัญในระบบการศึกษาก็ใช่  นักเรียนที่ขาดโอกาสการศึกษาในระดับอุดมศึกษาก็ใช่  พระสงฆ์ก็ใช่ ฯลฯ

สกว. มีชื่อเต็มว่าสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (ไม่ใช่งานวิจัยและไม่ใช่นักวิจัย)   การไม่ยอมให้ "งานวิจัย" มาบดบัง "การวิจัย" จึงทำให้ สกว. แตกต่างจากองค์กรอื่น  คือ  มีทุนสนับสนุนโครงการแบบ ABC ยุววิจัย ครุวิจัย ชาวบ้านวิจัย และ IRPUS 

ทั้งนี้เพื่อให้คำขวัญของ สกว. ในความจริงที่ 5 เป็นจริงได้นั่นเอง

ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศทุน ของสกว.  คลิก

รายการวิจัยไทยคิด วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2552 เวลา 16.00 น. ทางช่อง ทีวีไทย ตอน "ของเล่นพื้นบ้านสู่การเรียนวิชาฟิสิกส์" สามารถติดตามชมตอนที่ผ่านมาได้    คลิก

ข้อมูล biodata ล่าสุด

ข้อมูลถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2552 มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 9,256  คน
จำนวนสมาชิกระดับ Platinum:  27  คน
จำนวนสมาชิกระดับ Gold:  81  คน
จำนวนสมาชิกระดับ Silver:  9,147  คน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

13  สิงหาคม 2552

 


ด้วย Windows Live คุณสามารถจัดการ แก้ไข และ แบ่งปันภาพถ่ายของคุณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น