ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อนุชนชาวนาไทย

อนุชนชาวนาไทย

วันอาทิตย์ ที่ 02 สิงหาคม 2552 เวลา 0:00 น

 

สร้างเด็กรุ่นใหม่เข้าใจ...เข้าถึงวิธีปลูกข้าว

ท่ามกลางกระแสข่าวชาวต่างชาติจะมาครอบครองพื้นที่ทำนา ปฏิวัติการทำนาด้วยเครื่องไม้เครื่องมืออัน   ทันสมัย สร้างความรู้สึกสะท้อนใจให้คนไทยส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็น “ข้าว” “ชาวนา” ประหนึ่งเป็นจิตวิญญาณของชาติ คนไทยผูกพันกับข้าวมาเนิ่นนาน ประเทศไทยกลายเป็นที่หนึ่งของการส่งออกข้าวโลกมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะเรามีพื้นที่ปลูกข้าวจำนวนมาก อีกทั้งมีชาวนาที่มีภูมิปัญญาเรื่องข้าวอันชาญฉลาดสุดในโลก
   
“มูลนิธิข้าวไทยเป็นห่วงว่าในอนาคตจะไม่มีชาวนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังเคยตรัสไว้ว่าคนไทยต้องปลูกข้าวกินเอง เพราะเรามีทุกอย่างมีดินที่ดีมีชาวนาที่เก่ง” ดร.ขวัญใจ โกเมศ เลขาธิการมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เอ่ยถึงสถานการณ์ข้าวในเวลานี้
   
เลขาธิการมูลนิธิข้าวไทย กล่าวว่าปัญหาน่าห่วงของชาวนาไทยคือ จะไม่มีชาวนารุ่นใหม่มาทดแทนชาวนารุ่นเก่า เพราะพ่อแม่ที่ทำนาไม่ต้องการให้ลูก  หลานมาเป็นชาวนา มองว่าชีวิตชาวนาลำเค็ญ ไม่อยาก  ให้ลูกหลานมาเดินตามรอย มูลนิธิข้าวไทยฯได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพชาวนาที่อยู่ ในสถานะขาดเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมส่งผลให้ประเทศไทยผลิตข้าวไม่ได้มากพอที่จะเหลือเพื่อส่งออก หรืออาจถึงขั้นวิกฤติที่ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศด้วยซ้ำ
   
มูลนิธิฯ จึงได้จัดโครงการ “อนุชนชาวนาไทย ความอยู่รอดของคนไทย” ขึ้น เป็นประจำทุกปีโดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2548 เพื่อปลุกจิตสำนึกและบ่มเพาะแนวคิดให้เยาวชนไทยตระหนักถึงความสำคัญของข้าวต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย โดยกำหนดให้มีการคัดเลือกอนุชนชาวนาจากทั่วประเทศ ให้มีโอกาสได้ความรู้และประสบการณ์ในเรื่องงานวิจัยและพัฒนาข้าว รวมทั้งเทคโนโลยีการผลิตข้าวสมัยใหม่
   
ดร.ขวัญใจ ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าโครงการนี้จะเปิดรับสมัครลูกหลานชาวนาที่ครอบครัวมีอาชีพทำนาจริงในปัจจุบันจาก ทั่วประเทศและกำลังศึกษาในระดับมัธยม และสายวิชาชีพอายุระหว่าง 15-18 ปี มาเข้าค่ายเรียนรู้กระบวนการทำนาตั้งแต่ต้นจนจบในระยะเวลา 1 สัปดาห์ แบ่งเป็นภาคละค่ายโดยภาคเหนือ  จัดที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและการเกษตร จ.พิจิตร ภาคกลางจัดที่ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ภาคอีสานจัด  ที่วิทยาลัยเกษตรกรรม จ.อุบลราชธานี และภาคใต้จัดที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการเกษตร จ.พัทลุง (แต่ปีที่ผ่านมาเด็กจากภาคใต้สมัครมาแค่ 2 คนจึงต้องจัดเด็กไปรวมกับภาคอื่นเพราะสถานการณ์ความไม่สงบ ประกอบกับพื้นที่ภาคใต้ปลูกข้าวน้อย)
   
สาเหตุที่แยกกันจัดแต่ละภาคเพราะชาวนาแต่ละพื้นที่    ประสบปัญหาเรื่องวิธีการทำนาต่างกัน โดยหัวใจสำคัญรองลงมานอกจากจะให้ลูกหลานชาวนาไทยเห็นคุณค่าของอาชีพชาวนาแล้ว ยังมุ่งเน้นให้เด็กที่มาเข้าค่ายสามารถแก้ปัญหาการปลูกข้าวในท้องถิ่นและนำไปใช้ได้จริง ซึ่งในแต่ละปีรับเด็กประมาณ 50-60 คนต่อปี ขณะนี้มีอนุชนที่เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่ปี 2548 แล้ว 250 คน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะทำหน้าที่ทูตข้าว เผยแพร่ความรู้เรื่องข้าวในโรงเรียนหรือชุมชน โดยมูลนิธิสนับสนุนเรื่องงบประมาณในการจัดทำสื่อให้ ขณะนี้มีทูต ข้าวแล้ว 150 คน นอกจากนี้ เด็กที่ผ่านค่ายข้าวแล้วต้องการ  ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำนา  สามารถรวมกลุ่มเพื่อ จัดเทรนนิ่งโดย  แจ้งมาทางมูลนิธิจะดูแลเรื่องของวิทยากร และสนับสนุนค่าเดินทางให้ ยกตัวอย่างที่ผ่านมามีอนุชนรวมกลุ่มจำนวน 10 คนอยากได้ความรู้เรื่องปุ๋ย สั่งตัด เราก็จัดอบรมให้ 
   
นอกจากนี้จะคัดเลือกเด็กที่เรียนดีไปเรียนรู้เรื่องข้าวในสถาบันข้าว   นานาชาติ อีลี่ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ปีละ 10 คน พาไปสัมผัสการทำงานวิจัยข้าว เรียนรู้วิถีชีวิตชาวนาในฟิลิปปินส์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นการทำนาในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน
   
“ก่อนหน้าที่เด็กจะเข้าอบรมเขามีความรู้เรื่องข้าวน้อยมาก แม้ที่บ้านจะทำนาแต่ลูกชาวนาทำนาไม่เป็นเพราะพ่อแม่ไม่ต้องการให้ลูกเป็นชาวนา เด็ก ๆ จะสนุก  มากเพราะได้ปฏิบัติมากกว่าเรียนรู้เรื่องทฤษฎี ค่ายข้าวสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กบาง คนบอกว่าจะกลับไปช่วยพ่อแม่ทำนา บางคนอยากเป็นนักวิจัยข้าว และที่สำคัญเด็กรุ่นใหม่เมื่อถ่ายทอดเทคโน โลยีการทำนาแบบใหม่เขาเข้าใจมากกว่า เรียนรู้ได้เร็ว”
   
ค่ายข้าวในปีนี้ปิดรับสมัครไปตั้งแต่สิ้นเดือน  กรกฎาคมที่ผ่านมา เด็กจะมาเข้าค่ายในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งแต่ละครั้งในแต่ละค่ายจะมีเด็กหนึ่งคนได้รับการคัดเลือกเป็นอนุชนดีเด่น ได้รับรางวัลโล่รางวัลและเป็นทุนการศึกษาต่อไป
   
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นตอนนี้ประเทศเราเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกปีละ 8-9 ล้านตัน ตามมาด้วย เวียดนาม เดิมทีการส่งออกห่างจากไทยอยู่หลายล้านตัน แต่เวลานี้เวียดนามวิ่งฉิวมาห่างจากเราแค่ 1-2 ตัน คาดการณ์กันว่าภายใน 5 ปี ประเทศไทยจะเสียแชมป์ส่งออกข้าวให้เวียดนามนั้นเพราะอุปสรรคในการผลิตข้าวที่ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวมากสุด แต่ผลผลิตต่อไร่ห้อยอันดับสุดท้ายรองจากกัมพูชา
   
ดร.ขวัญใจ สะท้อนปัญหาเรื่องการทำนาของคนไทยให้ฟังว่า คนไทยยังปรับตัวไม่ทันจากการปลูกข้าวเพื่อกินไปสู่การปลูกข้าวเพื่อขาย นอกจากนี้การทำนาในเมืองไทยยังมีความเสี่ยงต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก น้ำเป็นเรื่องสำคัญ มีนาในระบบชลประทานเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ของประเทศที่เหลือพึ่งพากับปัจจัยสภาพแวดล้อม บางปีผลผลิตตกต่ำ ทำให้ชาวนาต้องกู้หนี้ยืมสิน สุดท้ายปลดหนี้ไม่ได้ก็ต้องขายที่นา นอกจากชาวนาไทย ข้าวไทยยังประสบปัญหานักวิจัยข้าวขาดแคลน ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ให้ความสำคัญเรื่องวิจัย ไม่มีเส้นให้นักวิจัยเดิน และแต่ละปีมีนักวิจัยที่เกษียณอายุลงไปแต่ไม่มีคนรุ่นใหม่เข้ามาแทน
   
เหล่านี้คือสาเหตุสำคัญซึ่งจะส่งผลให้ข้าวไทยเสียแชมป์ระดับโลกไปอย่างน่าเสียดาย.


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=522&contentID=11657
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://www.familynetwork.or.th
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://icann-ncuc.ning.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.webmaster.or.th
http://www.thailandshowtime.com/2009

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น